ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
อักษรพระนามย่อ จ.ภ. ภายใต้มงกุฎรัศมี
แถบแพรชื่อโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียน วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้า ลูกเธอเจ้า ฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2536 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่องานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และเพื่อสนองตามพระราชประสงค์ที่ทรงมุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านความ เป็นอยู่และการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกล โดยให้โอกาส แก่เยาวชนที่มีความสนใจและมีความสามารถทางด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม ได้ฝึกฝนความรู้ความสามารถด้านนี้เป็นพิเศษตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งนี้ได้ จัดตั้งโรงเรียนจำนวน12 แห่ง ในทุกเขตการศึกษาโดยได้รับพระราชทาน นามว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียน และใช้นามภาษาอังกฤษว่า “Princess Chulabhorn’ s College ” พร้อมทั้ง พระราชทานแผ่นศิลาฤกษ์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ดำเนินการ จัดพิธีวาง ศิลาฤกษ์พร้อมกันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2539 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหารได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้น เมื่อ วันที่ 4 เมษายน 2537 มีที่ตั้ง โรงเรียนอยู่ที่บ้านหนองหอย ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัด มุกดาหาร บนที่ดินสาธารณ- ประโยชน์ที่สภาตำบลบางทรายใหญ่และชุมชน บ้านหนองหอย มอบให้จำนวน 79 ไร่ และประชาชนบริจาคเพิ่มเติมจำนวน 13 ไร่ รวมพื้น ที่ทั้งหมดเป็น 92 ไร่ หลังจากประกาศจัดตั้งโรงเรียนสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดมุกดาหาร แต่งตั้ง นายยงยุทธ สายคง ผู้อำนวยการโรงเรียน นวมินทราชู ทิศ อีสาน ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนคนแรก และเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้ นายรุ่งโรจน์ อุ่นชัย ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก และนายเสวก กลางประพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 -2554 นายเสนอ กลางประพันธ์ ผู้อำนวยการคนที่ 3 ตั้งแต่ปี 2555-2556 นายชาตรี ประดุจชนม์ ตั้งแต่ปี 2556-2564 และนายศักดิ์ รุ่งแสง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้ง
กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราช วิทยาลัย มุกดาหาร ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๗ บนที่ดินสาธารณประโยชน์ที่สภาตำบล บางทรายใหญ่และชุมชนบ้านหนองหอยมอบให้ จำนวน ๗๙ ไร่ และประชาชนบริจาคเพิ่มเติมจำนวน ๑๓ ไร่ โรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินจากโรงงานน้ำตาลจำนวน ๗ ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดเป็น ๙๙ ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภร ณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี มีพระชนมายุครบ ๓ รอบ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และต้องการพัฒนานักเรียนให้เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมและจริยธรรม เป็นโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งโรงเรียนรับนักเรียนทั้งประจำ และไปกลับ โรงเรียนเปิดทำการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๘
ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เปิดหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ ตามโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Education Hub) และเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยา ศาสตร์ภูมิภาค (Regional science school)
- ๔ เมษายน ๒๕๓๗ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร ให้เปิดสอนระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย ทั้งอยู่ประจำ และไป-กลับ สำนักงานชั่วคราวอยู่ที่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน
- ปีการศึกษา ๒๕๓๘ รับนักเรียนรุ่นแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ ใช้โรงเรียนศึกษาพิเศษมุกดาหาร เป็นสถานที่จัดการเรียนรู้
- ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ย้ายเข้ามาจัดการเรียนรู้ในสถานที่ปัจจุบัน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และใช้หลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จัดการเรียนรู้ภาคภาษาอังกฤษตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ ระดับละ ๑ ห้องเรียน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๕๔ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ผู้บริหารโรงเรียน
๑. นายยงยุทธ สายคง พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชูทิศอีสาน ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารคนแรก
๒. นายรุ่งโรจน์ อุ่นชัย พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๕๑ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรกซึ่งต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
๓. นายเสวก กลางประพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔
๔. นายเสนอ กลางประพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๖
๕. นายชาตรี ประดุจชนม์ พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๔
๖. นายศักดิ์ รุ่งแสง พ.ศ. ๒๕๖๕ – ปัจจุบัน
คำขวัญ
รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
ปรัชญา
ปญฺญา ยตถํ วิปสฺสติ
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
สีประจำโรงเรียน
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathodea campanulata P.Beauv.
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อเรียก: แคแสด
ลักษณะ:ไม้ยืนต้นขนาดสูงถึง 20 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ค่อนข้างทึบ ใบ เป็นใบประกอบ มีก้านช่อดอกยาว
เรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบย่อยมี 3-6 คู่ ส่วนปลายเป็นใบเดียวขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด
มีก้านช่อดอกยาว แต่ละช่อมีดอกจำนวนมากและทยอยบานคราวละ 2-6 ดอก มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 6-9 ซม.
ลักษณะเป็นถ้วย ผิวเป็นสันตามยาวตื้นๆ กลีบดอกมีสีแดงส้ม ผล เป็นฝักรูปเรือสีดำ เมื่อแก่จะแตกออกด้านเดียว
ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
การกระจายพันธุ์: ไม้ถิ่นกำเนิดต่างประเทศ นิยมปลูกตามสวนสาธารณะ สถานที่ราชการหรือริมทางทั่วไป
ประโยชน์: เป็นไม้ประดับ เปลือก ใบ ดอก ผล ใช้พอกแผล รักษาโรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง
ผู้เขียน: ขรรค์ชัย สถิติ: 967 18,269