ค่ายจุดประกายโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จัดกิจกรรมค่ายจุดประกายโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างวันที่ 21 – 24 มกราคม 2567 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆดังนี้
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เปิดโลกโครงงานวิทยาศาสตร์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และนักเรียนทุนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทาง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP)ระยะยาว รุ่นที่11
- บรรยายเรื่อง “Jump-start Science Project” โดย นายบัณฑิต บุญยฤทธิ์ นักเรียนทุนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับเด็กและเยาวชน ระยะยาว (JSTP) รุ่นที่ 14 นิสิตระดับปริญญาเอก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี โครงงานวิทยาศาสตร์ (science project) จัดเป็นการใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและขั้นสูง ในการศึกษาหาคำตอบจากคำถามที่ได้ตั้งขึ้นโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์(scientific method) เป็นตัวนำทาง ซึ่งอาจมีการใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายแขนงวิชาเพื่อนำมาซึ่งการทดลอง หรือสร้าง ชิ้นงาน ในกิจกรรมบรรยายนี้จะเป็นการบรรยายจุดเริ่มต้นของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และ มุ่งเน้นกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1. การกำหนดปัญหา (Identify a problem) 2. การสร้างสรรค์แนวคิด (Generate ideas)3. การพัฒนากระบวนการ (Develop a solution) 4. การออกแบบการทดลอง (Design a test) 5. การเขียนผลลัพธ์(Communicate the results) 6. การสร้างข้อสรุป (Draw conclusions)
- บรรยายและกิจกรรม “นักวิทย์...คิดปั้นแป้ง” โดย นายบัณฑิต บุญยฤทธิ์ นักเรียนทุนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับเด็กและเยาวชน ระยะยาว (JSTP) รุ่นที่ 14 นิสิตระดับปริญญาเอก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี แป้งจัดเป็นอาหารที่ให้พลังงานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยจัดเป็นสารชีวโมเลกุลประเภท คาร์โบไฮเดรต ที่ประกอบไปด้วยหน่วยย่อย คือ โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) โดยแป้งที่นิยม ใช้ในการประกอบหรือแปรรูปอาหาร ได้แก่ แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเหนียว เป็นต้น สำหรับในกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เรียนรู้คุณสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้ง ซึ่งนอกจากจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลักแล้ว ในแป้งบางชนิด เช่น แป้งสาลี ยังมีส่วนประกอบของโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยทำให้แป้งมีความยืดหยุ่น และเกิดเป็นแผ่นฟิล์มได้ กิจกรรม จะแบ่งเป็นการบรรยายสารชีวโมเลกุลทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ กรดนิวคลีอิก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน และการบรรยายคุณสมบัติและองค์ประกอบของแป้ง 1 ชั่วโมง และ กิจกรรมปั้นแป้ง 1 ชั่วโมง 30 นาที
- บรรยายเรื่อง “การสืบค้นข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์” (รอยืนยัน) โดย นางสาววนัทวิรา ฉันทะจำรัสศิลป์เจ้าหน้าที่สารสนเทศ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สวทช.
- บรรยายและกิจกรรม “โครงงานสิ่งประดิษฐ์ท้าประลอง...ความคิดสร้างสรรค์” และ บรรยายและกิจกรรม “Chemistry is fun”