redox reaction

Chemistry

Electrochemistry

Electrochemical Cell

Balance Redox Equation

กล่องข้อความ: Arreerat      กล่องข้อความ: 	ไฟฟ้าเคมี  (Electrochemistry)เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า      และกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี
	หากใช้การถ่ายเทอิเล็กตรอนเป็นเกณฑ์แล้ว ปฏิกิริยาเคมีแบ่งเป็น 2 ประเภท
ปฏิกิริยารีดอกซ์  (Redox Reaction) ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายเท อิเล็กตรอน (e-)
ปฏิกิริยานอนรีดอกซ์ (Nonredox Reaction) ปฏิกิริยาที่ไม่มีการถ่ายเทอิเล็กตรอน  (e-) 
	ปฏิกิริยารีดอกซ์  (Redox Reaction) 
	ปฏิกิริยารีดอกซ์ หรือ Oxidation-reduction Reaction) หมายถึง    ปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับการถ่ายเทอิเล็กตรอน
	ตัวอย่าง เมื่อนำแผ่นโลหะทองแดง (Cu) จุ่มลงในสารละลายของ AgNO3 พบว่าที่แผ่นโลหะ Cu    มีของแข็งสีขาวปนเทามาเกาะอยู่ และเมื่อนำมาเคาะจะพบว่าโลหะ Cu เกิดการสึกกร่อน ส่วนสีของสารละลาย AgNO3 ก็จะเปลี่ยนจากใสไม่มีสีเป็นสีฟ้า
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้อธิบายได้ว่าการที่โลหะทองแดงเกิด การสึกกร่อนเป็นเพราะโลหะทองแดง(Cu) เกิดการเสียอิเล็กตรอนกลายเป็น Cu2+ ซึ่งมีสีฟ้าและเมื่อ Ag+ รับอิเล็กตรอนเข้ามาจะกลายเป็น Ag (โลหะเงิน)  มาเกาะอยู่ที่แผ่นโลหะทองแดง
            	ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เขียนในรูปสมการได้ดังนี้
	         Cu(s)               Cu2+(aq) + 2 e-          	(ปฏิกิริยาออกซิเดชัน)     
         Ag+(aq) + e-                 Ag(s)            	(ปฏิกิริยารีดักชัน)    
อิเล็กตรอนที่ถ่ายเทต้องเท่ากัน       สมการเคมีที่เกิดขึ้นที่แท้จริงต้องเป็น
                           Cu(s)                Cu2+(aq) + 2 e-          	(ปฏิกิริยาออกซิเดชัน)
         2Ag+(aq) +2 e-                  2Ag(s)     	(ปฏิกิริยารีดักชัน)
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในแต่ละสมการเรียกว่าครึ่งปฏิกิริยา ซึ่งการเกิดปฏิกิริยาถ่ายเท e-  จะเกิดขึ้นได้สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อต้องนำครึ่งปฏิกิริยาทั้งสองมารวมกัน เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
         Cu(s) + Ag+(aq)                   Cu2+(aq) + 2Ag(s)          (ปฏิกิริยารีดอกซ์)

สรุปได้ว่าการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์จะต้องประกอบไปด้วยปฏิกิริยาย่อย  2 ปฏิกิริยา คือ 
 ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่สารเสียอิเล็กตรอน หรือหมายถึงปฏิกิริยาที่สารมีการเพิ่มเลยออกซิเดชัน
ปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่สารรับอิเล็กตรอน หรือหมายถึงปฏิกิริยาที่สารมีการลดเลขออกซิเดชัน
การพิจารณาว่าปฏิกิริยาใดเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่ อาจพิจารณาได้ง่าย ๆ ดังนี้
ปฏิกิริยาที่มีธาตุอิสระเป็นสารตั้งต้นหรือเป็นสารผลิตภัณฑ์จะเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ (ปฏิกิริยาสันดาป และปฏิกิริยาสังเคราะห์แสงเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์)
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์ไฟฟ้าเคมีทุกชนิดเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์
ปฏิกิริยาเมตาบอลิซึมในร่างกายเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์
ปฏิกิริยาที่มีธาตุแทรนซิชันร่วมอยู่ด้วยมักจะเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์

ตัวรีดิวซ์ (Reducer or Reducing agent or Reductant) คือ สารที่ทำหน้าที่ให้อิเล็กตรอนแก่สารอื่น ดังนั้นตัวรีดิวซ์จึงมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น
ตัวออกซิไดซ์ (Oxidizer or Oxidizing agent or Oxidant) คือ สารที่ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนจากสารอื่น ดังนั้นตัวออกซิไดซ์จึงมีเลขออกซิเดชันลดลง
ข้อสังเกต
อโลหะอิสระมักจะเป็นตัวออกซิไดซ์ เพราะอโลหะชอบรักอิเล็กตรอน
โลหะอิสระจะเป็นตัวรีดิวซ์ เพราะโลหะเสียอิเล็กตรอนได้ง่าย
สารประกอบที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบมากกว่ามักจะเป็นตัวออกซิไดซ์ ส่วนสารที่มีออกซิเจนน้อยกว่า หรือไม่มีเลยมักจะเป็นตัวรีดิวซ์
ไอออนบวกมักจะเป็นตัวออกซิไดซ์ ส่วนไอออนลบมักจะเป็นตัวรีดิวซ์